Category Archives: เศรษฐกิจพอเพียง

วิถีชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง

=k;

 

วิถีชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียง

อัจฉรา จันทพลาบูรณ์
ห้องเรียนทันข่าว สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี …..
ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ

โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี (ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ตามหนังสือที่ รล.0003/18888 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 สำนักราชเลขาธิการพระบรมมหาราชวัง กทม.)
คนส่วนมากมักเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วเศรษฐกิจพอเพียงถือว่าเป็นปรัชญาหรือแนวทางการดำรงชีวิต ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้กับประชาชนในทุกระดับทั้งระดับบุคคล ระดับธุรกิจ และระดับประเทศ ปรัชญาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) นี้ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ประการได้แก่
1. หลักการพอประมาณ ซึ่งหมายถึงการดำเนินชีวิต ดำเนินธุรกิจ หรือบริหารประเทศอย่างสมดุลบนทางสายกลางไม่สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง

2. หลักการมีเหตุมีผล หมายถึง การนำความรู้ต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจอย่างมีสติอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผลไม่ใช้อารมณ์

3. หลักการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งหมายถึงการวางแผนการดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างระมัดระวังและรอบคอบ รวมทั้งมีระบบภูมิคุ้มกันหรือระบบป้องกันความเสี่ยงที่ดี ที่สามารถช่วยรองรับผลกระทบจากความผันผวนต่าง ๆ

นอกจากนั้น หลักการทั้ง 3 ด้านนี้ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีคุณธรรม เช่น มีความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทนและรู้จักแบ่งปัน เพราะหากไม่มีคุณธรรมต่อให้ปรัชญาดีอย่างไร ก็สามารถนำไปใช้ในทางที่ผิดได้เสมอสำหรับการพิจารณาว่าจะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 3 หลัก ไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตก็คือการใช้จ่ายอย่างพอประมาณไม่ฟุ่มเฟือย มีการแบ่งปันส่วนเกินเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อน มีการตัดสินใจดำรงชีวิตด้วยเหตุด้วยผล ต้องเข้าใจตนเองว่ามีข้อจำกัดอย่างไร เช่น มีรายได้เท่าไร ควรใช้จ่ายเท่าไรให้พอดีกับความสามารถในการหารายได้ของตัวเองและเตรียมความพร้อมสร้างระบบภูมิคุ้มกันตนเองด้วยการออมเงินให้เพียงพอเพื่อรองรับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งหากทุกคนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ไปใช้จริงๆ พวกเราก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข เพียงพอกับความสามารถของตนเอง

นักเรียนสามารถศึกษาวิถีชีวิตกับเศรษฐกิจพอเพียงของบุคคลที่เป็นตัวอย่างของชีวิตพอเพียงในอาชีพต่าง ๆ ที่เว็บไซต์ http://www.sufficiencyeconomy.org/life.php?ac=list&n_id=1 และอย่าลืมว่า

“…ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุข ความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดเบียนจากผู้อื่น…”

คนไทยทุกคนโชคดีที่มีพระเจ้าแผ่นดิน ที่รักและห่วงใยประชาชนอย่างแท้จริง อย่าปล่อยให้ความโชคดีนั้นหลุดลอยไปโดยที่เราไม่ได้ยึด ไม่คว้า และไม่ปฏิบัติตาม

บทความนี้สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา

มาตรฐาน ส ๓.๑ : เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิต และการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

การเลี้ยงไก่ไข่

ไก่

การเลี้ยงไก่

การเลี้ยงไก่ไข่ถือว่าเป็นอาชีพที่มีผู้สนใจมากในปัจจุบัน  เนื่องจากไก่ไข่เลี้ยงไม่ยากต้องการพื้นที่เลี้ยงน้อย  มีความสะดวกทั้งทางด้านการจัดหาลูกไก่ อาหาร  อุปกรณ์การให้อาหารและน้ำ วัคซีนและยารักษาโรค นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงพันธุ์ไก่ไข่จากพันธุ์แท้เป็นไก่ผสมที่ให้ผลผลิตสุงกว่าพันธุ์แท้  จึงทำให้การเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทยมีความคล่องตัวสูง ทำให้อุตสาหกรรมไก่ไข่เจริญก้าวหน้า สามารถผลิตไข่เพื่อการบริโภคภายในประเทศและจำหน่ายต่างประเทศในปีหนึ่งๆเป็นมูลค่าหลายล้านบาท

วิธีเริ่มต้นเลี้ยงไก่ไข่ 

1. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงลูกไก่อายุ 1 วัน เป็นวิธีที่นิยมกันมากเนื่องจากทุนน้อย สามารถเลี้ยงไก่ได้ตลอดเวลาด้วยตัวเอง ดูแลเอาใจใส่ได้อย่างเต็มที่ ได้รู้ประวัติของไก่ทั้งฝูง แต่การเลี้ยงแบบนี้ต้องใช้เวลานานกว่าไก่จะให้ไข่ เพราะต้องเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิด และต้องเสี่ยงต่อการตายของไก่ในระยะแรกๆ ต้องรออย่างน้อยถึง 22 สัปดาห์ ไก่จึงจะเริ่มให้ไข่

2. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือน เป็นวิธีที่นิยมกันในปัจจุบัน โดยการซื้อไก่รุ่นอายุ 6 สัปดาห์ – 2 เดือน มาจากฟาร์มหรือบริษัทที่รับเลี้ยงลูกไก่ ลูกไก่ในระยะนี้ราคายังไม่แพงมากนัก และสามารถตัดปัญหาในเรื่องการเลี้ยงดูลูกไก่และการกกลูกไก่ การเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือนนี้ มักจะให้อาหารที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ ราคาถูก การเลี้ยงไม่ต้องใช้ความชำนาญมากนัก ผู้ที่เริ่มต้นเลี้ยงไก่เป็นครั้งแรก จึงสมควรเริ่มเลี้ยงด้วยวิธีนี้

3. เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่สาว เป็นวิธีที่ผู้เลี้ยงไก่เป็นอาชีพหรือเพื่อการค้านิยมกันมาก เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาเลี้ยงดูไก่เล็กหรือไก่รุ่น นอกจากนี้โรงเรือนก็สร้างไว้เฉพาะกับไก่ไข่เท่านั้น แต่การเลี้ยงไก่วิธีนี้ต้องลงทุนสูง ผู้เลี้ยงจะต้องรู้จักฟาร์มที่ผลิตไก่สาวเป็นอย่างดี ต้องสอบถามถึงประวัติของฝูงไก่สาวที่นำมาเลี้ยงเสมอ เพราะช่วงที่ไก่ยังเป็นลูกไก่และไก่รุ่นผู้เลี้ยงไม่สามารถรู้ประวัติของฝูงไก่สาวที่จะนำมาเลี้ยงได้

1.การเลี้ยงดูไก่เล็ก (อายุ 1 วัน-16 สัปดาห์)   เมื่อลูกไก่มาถึงฟาร์มต้องนำเข้าเครื่องกกโดยเร็วที่สุด เตรียมน้ำสะอาดให้กินทันที ควรผสมยาปฏิชีวนะหรือวิตามินให้กินติดต่อกัน 2-3 วันแรก ถ้าลูกไก่มีลักษณะนอนฟุบ อ่อนเพลียมาก ควรผสมน้ำตาลทรายลงในน้ำผสมยาปฏิชีวนะในอัตรา 5-10%ระยะ 12 ชั่วโมงแรก

เมื่อลูกไก่เข้าเครื่องกก 2-3ชั่วโมง หรือลูกไก่เริ่มกินน้ำได้แล้ว ให้อาหารไก่ไข่เล็ก โปรตีน 19 % ให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้งอย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง  ให้แสงสว่างในโรงเรือน 1-3 วันแรกเท่านั้น เพื่อให้ไก่คุ้นเคยกับสถานที่ ควรเปิดไฟสลัวๆ   ภายในเครื่องกกต้องมีแสงไฟอยู่ตลอดเวลาในระยะ 1-3 สัปดาห์  หมั่นตรวจสุขภาพไก่  อาหารและน้ำ เปลี่ยนวัสดุรองพื้นที่ชื้น  อากาศต้องถ่ายเทได้สะดวก ขยายวงกกให้กว้างตามความเหมาะสมทุกๆ 5-7 วัน ยกเครื่องกกให้สูงขึ้นเล็กน้อย  ปรับอุณหภูมิให้ต่ำลงสัปดาห์ละ 5 องศาฟาเรนไฮด์ ทำวัคซีนตามกำหนด  ตัดปากเมื่ออายุ 6-9 วัน เมื่อกกลูกไก่ครบ 21 วัน นำวงล้อมและเครื่องกกออก จัดเตรียมอุปกรณ์ ดังนี้

– ที่ให้อาหาร ใช้แบบถังแขวนในอัตรา 3-4 ใบต่อไก่ 100 ตัว

– ที่ให้น้ำ ใช้แบบถังแขวน ในอัตราตามขอบราง 1 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว ที่ให้อาหารและน้ำ ต้องปรับให้อยู่ในระดับความสูงเท่ากับหลังไก่เสมอ

เริ่มให้ไก่กินกรวดตั้งแต่อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป   ให้สัปดาห์ละครั้งๆ ละ ครึ่งกิโลกรัมต่อไก่ 100 ตัว เริ่มชั่งน้ำหนักไก่จำนวน 5% ของฝูงเมื่ออายุ 6 สัปดาห์ จดบันทึกปริมาณอาหาร จำนวนไก่ตาย คัดทิ้ง สิ่งผิดปกติ การปฏิบัติงาน การใช้ยาและวัคซีนเป็นประจำ

2.การเลี้ยงดูไก่รุ่น (อายุ 7-14 สัปดาห์)   การเลี้ยงไก่ในระยะนี้   ควรจัดเตรียมพื้นที่เลี้ยงในอัตราไก่ 5-6 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร  เมื่ออายุ 7 สัปดาห์ เปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่เล็กเป็นอาหารไก่ไข่รุ่น ให้อาหารในอัตรา 4-5 ถังต่อไก่ 100 ตัว ปรับระดับที่ให้อาหารให้อยู่ระดับหลังไก่เสมอ ทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพอ โดยใช้ในอัตราตามขอบราง 1 นิ้ว ต่อไก่ 1 ตัว ดูแลวัสดุรองพื้นอย่าให้แฉะ  ชั่งน้ำหนักไก่ จำนวน 5% ของฝูง ทุกสัปดาห์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของไก่แต่ละสายพันธุ์ เพื่อลดหรือเพิ่มปริมาณอาหารที่จะให้   จดบันทึกเกี่ยวกับการจัดการอื่นๆด้วย

3. การเลี้ยงดูไก่สาว (อายุ 15-20 สัปดาห์)   การเลี้ยงดูไก่สาวจะใกล้เคียงกับการเลี้ยงดูไก่รุ่น  ต้องควบคุมปริมาณอาหาร และน้ำหนักตัวไก่ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของไก่ไข่แต่ละสายพันธุ์ ควรจัดการดังนี้

เมื่อไก่อายุ 15 สัปดาห์ เปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่รุ่นเป็นไก่ไข่สาว ไม่ควรให้กินอาหารแบบเต็มที่เพราะไก่มักจะกินเกินความต้องการทำให้มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ไก่ให้ไข่เร็วแต่ไม่ทนและสิ้นเปลืองค่าอาหาร

การเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ

images

การเลี้ยงปลาดุก

 

 การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ เป็นวิธีการเลี้ยงปลาอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเลี้ยงกันได้ง่าย และสำหรับสถานที่ก็ใช้พื้นที่ไม่เยอะ และสามารถเคลื่อนย้ายท่อปูนซีเมนต์ได้ง่ายด้วย ค่าลงทุนในการการเลี้ยงก็ไม่มากสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ ส่วนผลตอบแทนก็เป็นที่น่าภูมิใจ จากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ร่วมด้วย ช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.สงขลา ได้พบกับคุณชาลี สุวรรณชาตรี อยู่บ้านเลข ที่ 319 ม.18 ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงปลาดุกในท่อ ปูนซีเมนต์ ได้บอกถึงวิธีการเลี้ยงปลาดุกด้วยระบบชีวภาพซึ่งมีขั้นตอนการ เลี้ยงดังนี้
การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมอุปกรณ์
1.ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100*50 เซนติเมตร
2.ท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
3.ข้องอพีวีซีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
4.ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น
5.ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 เส้น
6.ตาข่าย
7.น้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
8.ปูน ทราย หิน
9.อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
10.พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
11.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว
วิธีทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
หั่นมะละกอ, กล้วยน้ำหว้า, ฟักทองทั้งเปลือกและเมล็ดใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด ผสมน้ำตาลทรายแดง แล้วคนให้เข้ากันและปิดฝาให้แน่นหมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วเติมน้ำสะอาด 9 ลิตร ปิดฝาให้แน่นแล้วหมักต่ออีก 15 วัน

ประโยชน์
-เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย
-ปลาไม่เป็นโรค
-ปลาไม่มีกลิ่นสาบ
-ปลาไม่มีมันในท้อง
-ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยง
1.นำท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ
2.นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง

3.วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร
4.นำพืชผักที่ปลากิน เช่นผักบุ้ง ผักตบชวาและอื่นๆมาใส่ในบ่อ
5.การให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น

 

การเพาะเห็ด

ดาวน์โหลด

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกมีขั้นตอนการเพาะ 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.การเลี้ยงเชื้อในอาหารวุ้น Pda
2.การเลี้ยงเชื้อในเมล็ดข้าวฟาง
3.การทำก้อน

การเพาะเห็ด

สูตรอาหาร PDA

1.มันฝรั่ง (Potato) 200 กรัม
2.น้ำตาลเชิงเดียว (Dextros) 20 กรัม
3.วุ้น (Agar) 20 กรัม
4.น้ำสะอาด 1,000 cc

วิธีการเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ

 นำมันฝรั่งปอกเปลือกล้างน้ำหั่นเป็นชิ้นขนาด 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
นำไปต้มกับน้ำ (1,000 cc)
– กองเอาแต่น้ำแล้วนำมาผสมกับวุ้นและน้ำตาลเชิงเดียว
– บรรจุใส่ขวดประมาณ 1/4 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ
– นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน 15-17 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
นาน 25-30 นาที
– เมื่อเย็นแล้วนำขวดมาเอียง 45-70 อาศาเซลเซียส
– เลี้ยงเชื้อเห็ดในตู้เลี้ยงเชื้อ

การเตรียมเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง

1.แช่เมล็ดข้าวฟ่างในน้ำประมาณ 10-12 ชั่วโมง       
2.ต้มหรือนึ่งให้สุก
3.ผึ่งให้แห้ง
4.บรรจุใส่ขวดแบนประมาณ 1/2 ของขวด ปิดจุกสำลีแล้วหุ้มด้วยกระดาษ
5.นำไปนึ่งให้เย็นแล้วนำไปเลี้ยงเชื้อเห็ด    
6.เลี้ยงเชื้อเห็ดจากเส้นใยที่เจริญในอาหาร PDA

    การเพาะเห็ดนับเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย
เปลือกมันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม เปลือกถั่วเขียวหรือแม้กระทั่งวัสดุที่มีในธรรมชาติ และในท้องถิ่น เช่น
หญ้าชนิดต่างๆ เปลือกผลไม้ เพื่อใช้ให้เป็นวัสดุเพาะให้เหมาะสมกับท้องถิ่น ที่สำคัญ คือ ให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ
และจะเป็นการเพิ่มผลตอบเทนให้สูงขึ้น

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก

สูตรอาหารก้อนเชื้อ

–  ขี้เลื่อย 100 กก.                    – รำละเอียด 5 กก.                 – ดีเกลือ 0.2 กก
– ปูนขาว 1 กก.                        – น้ำสะอาด 70-75%

ขั้นตอนสำหรับทำก้อนเชื้อหลังเตรียมวัสดุ

– ขี้เลื่อยที่ใช้ควรเป็นขี้เลื่อยกลางเก่ากลางใหม่จะดีที่สุด หากเป็นขี้เลื่อยใหม่ควรกองทิ้งไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์
– หลังจากเตรียมสูตรอาหารได้แล้วให้นำส่วนผสมทั้งหมดไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน วิธีตรวจความชื้นว่าเหมาะสมหรือไม่
ให้ใช้มือบีบแล้วแบมือออกดูว่าก้อนขี้เลื่อยยังเป็นก้อนอยู่ หากระหว่างบีบมีน้ำไหลออกมาแสดงว่าแฉะเกินไปหรือ
ถ้าแบมือแล้วก้อนขี้เลื่อยแตกออก แสดงว่าแห้งเกินไป
–  บรรจุใส่ถุงพลาสติกที่ใช้เพาะเห็ด ซึ่งควรบรรจุให้หมดภายในวันเดียว ถุงก้อนเชื้อ ควรมีน้ำหนัก
ขนาด 8 ขีด – 1กก. เมื่ออัดก้อนเชื้อแน่นดีแล้วใส่คอขวดพลาสติกอุดด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ
แล้วรัดยางวงให้แน่น
–  นำก้อนเชื้อที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อทันทีใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
–  นำหัวเชื้อเห็ดที่เราต้องการจะเพาะที่เลี้ยงไว้ในเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้ประมาณ 10- 20 เมล็ดต่อก้อน
เขี่ยลงในก้อนเชื้อที่เย็นดีแล้ว รีบปิดปากถุงด้วยสำลี หรือกระดาษทันที วัสดุที่ใช้หัวเชื้อ
ควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอร์ก่อนทุกครั้ง
–  นำก้อนเชื้อที่ถ่ายเชื้อเห็ดลงเรียบร้อยแล้วไปบ่มไว้ในโรงบ่อก้อนเชื้อต่อไป

การปฏิบัติดูแลรักษา

        เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดฮังการี เห็ดภูฐานและเห็ดนางนวล ใช้เวลาเจริญในระยะเส้นใย
ประมาณ 1-1.5 เดือน เมื่อเส้นใยเริ่มรวมตัวกัน ถอดสำลีแล้วนำก้อนเชื้อไปวางในโรงเรือนเพื่อให้เกิดดอก
รักษาอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ การถ่ายเทอากาศตามที่เห็ดต้องการการให้ความชื้นภายในโรงเรือน
ไม่ควรให้น้ำขังอยู่ภายในก้อนเชื้อ และไม่ควรให้น้ำถูกดอกเห็ดโดยตรง ถ้าจำเป็นควรให้เป็นละออง
นอกจากนี้ต้องรักษาความสะอาดบริเวณที่ปฏิบัติงานและโรงเรือนเพาะเห็ด
เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของเชื้อโรคและแมลง

การเพาะเห็ดให้ประสบความสำเร็จ

       ถ้าคนไม่มีประสบการณ์เพาะเห็ดเลย ควรเริ่มต้นจากการซื้อก้อนเชื้อสำเร็จที่หยอดเชื้อแล้วไปลองเลี้ยงดูก่อน
ดูแลรดน้ำให้ออกดอก ถ้าทำตรงนี้จนมีความชำนาญแล้วเราก็อาจจะซื้อก้อนเชื้อสำเร็จมาเปิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนมั่นใจว่าสามารถผลิตก้อนเชื้อเองได้ โดยจะต้องลงทุนเพิ่ม คือ อุปกรณ์หม้อนึ่งฆ่าเชื้อและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น
วัสดุดิบ ขึ้เลื่อย เกษตรกรผู้ผลิตควรมองถึงคุณภาพเห็ดด้วย ถ้ามองแต่ว่าจะทำให้ได้วันละ 100-200 กก.
ถ้าเราเห็นแต่ปริมาณเราจะไม่ได้ในเรื่องของราคาในช่วงที่อากาศเหมือนๆ กัน เห็ดตัวเดียวกันออกดอกเยอะๆ
พร้อมๆ กัน ราคาก็จะถูกลงเหมือนสินค้าอื่น ในขณะที่เราเพาะเห็ดนางฟ้าอยู่เราก็อาจจะเพาะเห็ดหอม เห็ดเป๋าฮื้อ
เห็ดโคนญี่ปุ่นด้วย หรือเห็ดอย่างอื่นอีกหลายชนิดที่เราเพาะได้ บางช่วงเห็ดนางฟ้ามีราคาต่ำแต่เห็ดตัวอื่นยังราคาสูงอยู่
ในการเก็บดอก เราจะเก็บดอกที่ตูมไว้อีกนิดและไม่รดน้ำก่อนเก็บ 2 ชั่วโมง เราจะได้เห็ดที่มีคุณภาพและได้ราคาสูง
อย่างเห็ดสินค้าตลาดจะไม่เกิน 2-3 วัน ถ้าเราเก็บดอกตูมเราจะยืดเวลาไปได้อีก
โดยแช่ไว้ในห้องเย็นจะชะลอการขายได้

พืชผักสวนครัว

พืชผักสวนครัว      หมายถึง      พืชที่ใช้ส่วนต่างๆ เป็นอาหาร เช่น ลำต้น ใบ ดอก ผล และหัว พืชผักสวนครัวสามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการนำมาประกอบอาหารได้ 4 ประเภท  ดังนี้
1.  ใช้ผลเป็นอาหาร  เช่น  แตงกวา  มะเขือเทศ  พริกหวาน
2.  ใช้ใบและลำต้นเป็นอาหาร  เช่น  ผักกาดขาว  ตำลึง  ผักคะน้า  สะระแหน่
3.  ใช้ดอกเป็นอาหาร  เช่น  กะปล่ำดอก  ดอกแค  บร็อคโคลี่
4.  ใช้หัวหรือรากที่อยู่ใต้ดินเป็นอาหาร  เช่น  หอมหัวใหญ่  แครอต  กระเทียม  ขิง
พืชผักสวนครัวเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกลือแร่ และวิตามิน การบริโภค